วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

การนำเอาแนวความคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ไปพัฒนาพฤติกรรม

เนื่องจากการเรียนรู้นั้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอก การนำเอาแนวคิดการเรียนรู้ไปใช้พัฒนาพฤติกรรมของคนเรา สามารถที่จะเริ่มจากการพัฒนาพฤติกรรมภายในไปสู่พฤติกรรมภายนอก หรือจากพฤติกรรมภายนอกไปสู่พฤติกรรมภายในก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมทั้งสองประเภทนี้มีผลซึ่งกันและกันนั่นเอง แต่ในกระบวนการพัฒนาตนนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรจะเริ่มต้นจากพฤติกรรมภายในไปสู่พฤติกรรมภายนอก เพราะว่าคนเรานั้นควรจะมีความตระหนักหรือต้องการที่จะพัฒนาตัวเองเสียก่อน จึงจะทำให้กระบวนการพัฒนาตนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นขั้นตอนในการพัฒนาตนนั้นจึงควรเริ่มจากการ  คิดดี  พูดดี และทำดี  ซึ่งถ้าทุกคนทำได้ก็จะทำให้สังคมมีความสงบ และความสุขมากขึ้น
ความคิดอาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอุปนิสัยของคนเราทีเดียว     ดังคำกล่าวของ หลวงพ่อชา สุภัทโท ที่กล่าวว่า                
         เธอจงระวังความคิดของเธอ เพราะความคิดของเธอ จะกลายเป็นความประพฤติของเธอ
           เธอจงระวังความประพฤติของเธอ เพราะความประพฤติของเธอ จะกลายเป็นความเคยชิน
           ของเธอ
           เธอจงระวังความเคยชินของเธอ เพราะความเคยชินของเธอ จะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ
           เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ เพราะอุปนิสัยของเธอ จะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต

การคิดดี หรือคิดในทางบวกนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่นักศึกษาทุกคนควรจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการพัฒนาตน ซึ่งในการที่จะพัฒนาตนได้นั้นนักศึกษาจะต้องพิจารณาใน 3 ประเด็นต่อไปนี้
1.นักศึกษาต้องมีความตระหนักในตนเอง ซึ่งหมายความว่า นักศึกษาต้องรู้ตนเองตลอดเวลาว่าตนกำลังคิดอะไรอยู่หรือกำลังทำอะไรอยู่  เพราะถ้าบุคคลใดไม่รู้ตนเองว่าตนเองกำลังคิดหรือทำอะไรอยู่ บุคคลนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองได้เลย ซึ่งวิธีการที่จะทำให้ตนเองมีความตระหนักได้นั้นสามารถทำได้โดยการที่นักศึกษาอาจจะจดบันทึกสิ่งที่ตนเองคิดหรือกระทำทุกวัน และนำข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณา ก็จะทำให้นักศึกษาทราบว่าตนเองมีความคิดหรือพฤติกรรมเช่นใด สมควรพัฒนาไปในทิศทางใด มากน้อยเพียงไร เช่น นักศึกษาอาจคิดว่าตนเองไม่มีเวลาอ่านหนังสือ นักศึกษาอาจเริ่มต้นโดยบันทึกว่า ในวันหนึ่งๆนั้น ตนเองได้ใช้เวลาทำอะไรบ้าง การบันทึกเช่นนี้ทำให้นักศึกษาได้รู้ถึงเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้สามารถตัดสินใจได้ว่าควรจะจัดการอย่างใดกับเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวันเพื่อให้มีเวลาในการอ่านหนังสือได้ หรือนักศึกษาอาจมีความวิตกกังวลกับการสอบ เนื่องจากกลัวว่าจะทำข้อสอบไม่ได้ดี ทำให้เกิดความวิตกกังวลสูง อาจมีผลทำให้หมดกำลังใจในการอ่านหนังสือ ซึ่งการมีข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจและสามารถหาทางแก้ไขปัญหาได้
2.นักศึกษาจะต้องมีความคิดว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของตนเอง การที่จะทำคะแนนสอบได้ดี การที่มีเพื่อนมาก หรือการที่มีคนยอมรับตนเองนั้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากผลของการกระทำของเราทั้งสิ้น นั่นคือนักศึกษาสามารถจะบอกตนเองได้ว่า อดีตผ่านไปแล้วแก้ไขอะไรไม่ได้ อนาคตเป็นสิ่งที่เรามีทางเลือก ดังนั้น ถ้าเราเลือกที่จะประสบความสำเร็จเราก็จะสำเร็จ แต่ถ้าเราเลือกที่จะเชื่อว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะคนอื่น หรือโชคชะตา เราก็จะไม่มีโอกาสได้พัฒนาตนเอง เพราะเรามัวแต่จะรอให้คนอื่นแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง หรือรอโชคชะตา ดังนั้น ประเด็นนี้จึงสำคัญมาก นักศึกษาต้องบอกเสมอว่า อนาคตเราเป็นผู้สร้าง  ผู้กระทำ เราจึงต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
3.นักศึกษาจะต้องมีความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีขึ้น เพราะถ้าปราศจากซึ่งความปรารถนาทีจะเปลี่ยนแปลง นักศึกษาก็จะขาดแรงจูงใจที่จะกระทำ ดังนั้น นักศึกษาจะต้องบอกตนเองว่า ฉันต้องการพัฒนาตนเอง และฉันจะทำเดี๋ยวนี้ อย่ารอเวลาเพราะถ้ารอเราจะไม่มีโอกาสได้พัฒนาตนเองอีกเลย
สิ่งเริ่มต้นที่จะพัฒนาตนเองนั้นน่าจะเริ่มต้นจากการตระหนักถึงความคิดของตนเอง และจัดการกับความคิดของตนเองเป็นอันดับแรกทั้งนี้ จากการศึกษาทางจิตวิทยาพบว่า ร้อยละ 75 ของความคิดของคนเราส่วนใหญ่ มักคิดในทางลบ (Helmstetter,1987)   ซึ่งความคิดไม่ว่าทางบวกหรือทางลบก็ตามเกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ทั้งสิ้น  เมื่อบุคคลเกิดปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ผลกรรมที่เกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมนั้นจะเป็นตัวกำหนดความคิดของคนเราต่อสภาพแวดล้อมนั้นๆ ซึ่งถ้าคนเรากระทำพฤติกรรมบางอย่างและได้รับผลกรรมที่ต้องการ เขาก็จะมีความคิดในทางบวกต่อสภาพแวดล้อมนั้น ในทางกับกันถ้าเขาได้รับผลกรรมทางลบเขาก็จะมีความคิดในทางลบต่อสภาพแวดล้อมนั้น ซึ่งถ้าความคิดในทางลบนั้นเกิดขึ้นบ่อยๆ  ก็อาจจะพัฒนาเป็นนิสัยการมองโลกในแง่ร้าย อันจะนำไปสู่การสร้างปัญหาให้กับตัวเองและสังคมรอบข้าง ซึ่งลักษณะเช่นนี้ Helmstetter กล่าวว่า เป็นการวางโปรแกรมให้คนเราเกิดความเชื่อ  และความเชื่อทำให้คนเราสร้างทัศนคติขึ้นมา แล้วทัศนคติจะสร้างให้คนเราเกิดความรู้สึก ความรู้สึกก็จะไปกำหนดการกระทำ และการกระทำก็จะนำไปสู่ผลที่เกิดขึ้น ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า สิ่งที่คนเราเชื่อหรือคิดไม่จำเป็นจะต้องเป็นสิ่งที่เป็นจริง ขอให้เราคิดหรือเชื่อว่ามันเป็นจริงมันก็สามารถเป็นจริงได้ ซึ่งประเด็นนี้จัดได้ว่าเป็นอันตรายมากต่อการใช้ชีวิตของคนเรา เพราะจะนำไปสู่ความเชื่อที่ผิดๆ ดังนั้น นักศึกษาจึงควรที่จะตระหนักถึงความคิดหรือความเชื่อที่ผิดๆ หรือความคิดทางลบของตนเอง และควรจะเปลี่ยนความคิดทางลบเหล่านั้นให้เป็นทางบวก แต่กระบวนการดังกล่าวทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากคนเรามักจะติดกับความเคยชินที่คิดในทางลบ ดังนั้น เทคนิคแรกที่นักศึกษาควรจะฝึกเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองนั้น คือเทคนิคการหยุดความคิด (Thought stopping)  เพื่อหยุดความคิดในทางลบของตนเองเสียก่อน ซึ่งแน่นอน หลักการประการแรกที่สำคัญที่สุดคือ นักศึกษาจะต้องตระหนักตนเองก่อนว่าตนเองกำลังคิดในทางลบอยู่หรือไม่ ถ้าพบว่า ตนเองกำลังคิดในทางลบอยู่ก็ให้ใช้เทคนิคการหยุดความคิด

วิชาศิลปและวัฒนธรรมท้องถิ่น

ความหลากหลายของพันธุกรรม   
                กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต     โดยการการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือองค์ประกอบทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนั้นกับสภาวะแวดล้อม  ความหลากหลายของพันธุกรรมเป็นรากฐานสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพื่อที่จะเอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ    ตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงศัตรูหรือ ต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บ  ความหลากหลายของพันธุกรรมภายในประชากรที่อาศัยอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ กันของสปีชีส์หนึ่ง  ยังช่วยเพิ่มศักยภาพของประชากรของสปีชีส์นั้นให้สามารถวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ กันได้อย่างเหมาะสมในระยะยามอีกด้วย (ภาพที่ 1)  ดังจะเห็นว่าพันธุ์พืชป่าจะมีวิวัฒนาการเปลี่ยแปลงปรับตัวเพื่อต่อสู้กับสัตว์และพวกจุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูอยู่ตลอดเวลา ในทำนองเดียวกันพวกสัตว์ที่เป็นศัตรูของพืชต่าง ๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการที่จะเอาชนะพืชให้ได้ กระบวนการวิวัฒนาการร่วมกันระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์เช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยความสอดคล้องของความหลากหลายทางพันธุกรรมของทั้งพืชและสัตวืดังกล่าว  เพื่อเปิดโอกาสให้มีการคัดเลือกตามธรรมชาติ  เช่น พืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งอยู่ร่วมกับผีเสื้อชนิดหนึ่ง  โดยตัวหนอนของผีเสื้ออาศัยกินใบของพืชตระกูลถั่วชนิดนั้นเป็นอาหาร นักชีววิทยาค้นพบว่ามีความหลากหลายของพันธุกรรมหรือยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์สารแอลคาลลอยด์ชนิดต่าง ๆ ในพืชถั่ว  สารแอลคาลลอยด์บางชนิดมีสมบัติเป็นพิษต่อการดำรงชีวิตของตัวหนอนผีเสื้อชนิดนั้นด้วย  และผีเสื้อนี้ก็มีความหลากหลายของยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมเอนไซม์ที่ช่วยทำลายหรือยับยั้งสารพิษแอลคาลลอยด์รูปแบบต่าง ๆ  ของพืชด้วยเช่นกัน      ทำให้ทั้งพืชถั่วและผีเสื้อวิวัฒนาการร่วมกันอย่างสมดุลตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
            ผลกระทบที่เด่นชัดที่สุดของประชากรธรรมชาติที่ขาดแคลนความหลากหลายของพันธุกรรม คือ การนำไปสู่สภาวะโฮโมไซโกซิตีของสมาชิกของประชากรนั้น   นอกจากนั้น  ประชากรที่ขาดความแปรผันทางพันธุกรรมยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดประสิทธิภาพของการอยู่รอดและความสมบูรณ์ในการสืบพันธุ์อีกด้วย  ผลกระทบต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะความกดดันของการผสมภายในสายพันธุ์ (inbreeding depression)  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียความยืดหยุ่นทางวิวัฒนาการอย่างแน่นอน
            การคัดเลือกพันธุ์ และเก็บรักษาพันธุ์พืชหรือสัตว์ เพื่อการเกษตรกรรม  โดยเก็บตัวอย่างจำนวนจำกัดของสายพันธุ์ที่ตรงกับความต้องการของเรา  คงไม่เกิดผลดีเท่าไรนัก เพราะการทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายของพันธุกรรม  อันอาจก่อให้เกิดผลร้ายตามมาอย่างคาดไม่ถึง  การเพาะเลี้ยงสายพันธุ์พืช หรือสัตว์อาจได้รับการปกป้องรักษาโดยมาตรการควบคุมศัตรู  จะโดยการใช้สารเคมีหรือใช้ชีววิธีก็ตาม ก็ไม่ให้ผลดีเท่ากับสมบัติการต่อต้านหรือดื้อต่อศัตรูที่เกิดจากพันธุกรรม  ดังนั้น  การปรับปรุงพันธุ์ข้าว  ข้าวโพด  ข้าวสาลี จำเป็นต้องหาสายพันธุ์ที่มียีนที่ดื้อ หรือต่อต้านศัตรูพืชเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ  เพราะศัตรูพืชมีกลไกการปรับตัวทางพันธุกรรมที่จะทำให้มันสามารถอยู่รอดได้โดยอาศัยพืชเหล่านี้ด้วย  สิ่งจำเป็นพื้นฐาน    ของการปรับปรุงรักษาพันธุ์พืชหรือสัตว์ คือ การแสดงหาสายพันธุ์ที่มีความหลากหลายของพันธุกรรมทั้งในด้านผลผลิต  และด้านความสามารถต่อต้านศัตรู  เพื่อนำมาใช้ในการผสมพันธุ์และการคัดเลือกสายพันธุ์ตามหลักวิชาการ  แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการตัดเลือกสายพันธุ์ คือ การสูญเสียความหลากหลายของพันธุกรรมเสมอ  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของมนุษย์ในความพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคที่เกิดจากธรรมชาตินั้นเอง  วงการเกษตรกรรมเคยฮือฮากับปฏิวัติเขียว หรือ กรีนเรโวลูชัน (green revolution) ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การเกษตร ที่ปรับปรุงพันธุ์ข้าว   และข้าวโพด ให้ได้ผลผลิตสูงเพียงพอกับความต้องการของ ประชาชนจำนวนมากในประเทศที่ยากจนและด้วยพัฒนาในโลกที่สาม  พันธุ์ข้าวและข้าวโพดสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่พัฒนาปรับปรุงขึ้นมาในประเทศที่เจริญแล้ว จะให้ผลผลิตสูงมากกว่าพันธุ์พื้นเมืองที่ชาวบ้านมีอยู่  หากได้รับการดูแลที่เหมาะสมในเรื่องเกี่ยวกับน้ำ ปุ๋ย และยาปราบศัตรู แต่โดยธรรมชาติของเกษตรกรทั่วไปที่มุ่งหวังแต่ผลผลิตสูงเป็นประเด็นสำคัญ โดยไม่คำนึงถึงหลักและความสำคัญของความหลากหลายของพันธุกรรม  ผลก็คือมีการนำเอาสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาใช้แทนที่พันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม    ซึ่งค่อย ๆ ถูกละเลยและถูกทอดทิ้งจนกระทั่งสูญหายไปในที่สุด หรืออีกนัยหนึ่ง  เป็นการนำเอาความเป็นเอกภาพของพันธุกรรม (genetic uniformity หรือ hemogeneity)     มาทดแทนความหลากหลายของพันธุกรรม  (genetic diversity)  ทำให้พันธุ์พื้นเมืองที่มีองค์ประกอบพันธุกรรมเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในท้องถิ่นนั้น ๆ ต้องสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย เสมือนเป็นการทำลายอู่ข้าวอู่น้ำที่มีค่าอย่างคาดไม่ถึง  ยิ่งไปกว่านั้น การพัฒนาประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคมที่มีการทำลายธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อพลังงานไฟฟ้า   และการชลประทาน  การทำเหมืองแร่  การทำอุตสาหกรรมป่าไม้  การสร้างเมืองใหม่  การขยายพื้นที่เพาะปลูก ฯลฯ ย่อมนำไปสู่การสูญเสียพืชพันธุ์เก่าแก่ในท้องถิ่นดั้งเดิม  ซึ่งเป็นการทำลายความหลากหลายของพันธุกรรมโดยที่มิอาจเรียกกลับคืนมาได้อีก       ดังเช่นเหตุการณ์ที่น่าเสียใจที่เกิดขึ้นในประเทศโลกที่สามอย่างเช่น    ไนจีเรีย   เอธิโอเปีย กลุ่มประเทศในอเมริกาใต้ และในเอเชีย
            ความหลากหลายของพันธุกรรมในประชากรธรรมชาติจำเป็นต้องพิทักษ์รักษาไว้ เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบของหน่วยพันธุกรรมรูปแบบใหม่ ๆ   ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่ ๆ   ที่มนุษย์ต้องการ  ตัวอย่างการค้นพบข้าว  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  มะเขือเทศ  และพืชชนิดอื่น ๆ ที่เป็นพันธุ์เก่าแก่และถูกทอดทิ้งอยู่ในป่ามาเป็นเวลานาน  ยังก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษย์ ดังจะเห็นว่า การค้นพบมะเขือเทศสปีชีส์ใหม่ 2 ชนิด ในป่าทึบของประเทศเปรู  สปีชีส์ที่ค้นพบใหม่เป็นพันธุ์เก่าแก่ที่หายากมาก นักวิทยาศาสตร์ได้นำเอามะเขือเทศพันธุ์เก่าแก่มาผสมพันธุ์กับพันธุ์ที่ใช้เพาะปลูกโดยเกษตรกรทั่วไปแล้วปรากฎว่า ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงมากกว่าพันธุ์ที่เคยใช้กันอยู่หลายเท่า และสามารถปรับปรุงพันธุ์ผสมใหม่ที่ได้ยีนมาจากพันธุ์ป่าเก่าแก่  ทำให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจต่อประเทศสหรับอเมริกาอย่างมหาศาลเกินค่าเงินที่ลงทุนไปในการวิจัยค้นหาพันธุ์เก่าแก่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในป่านั้น
            การค้นพบสายพันธุ์ข้าวชนิดเก่าแก่ที่มีความต้านทานต่อโรคข้าวหลายชนิด แต่พันธุ์ข้าวเหล่านั้นมีคุณค่าท่างผลผลิตน้อยจนถูกละเลยในประเทศอินเดีย  ทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวคัดเลือกเอายีนที่ต้านทานโรคข้าวได้ดีมาใช้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวปกติที่ให้ผลผลิตสูง  อันจะยังประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากมาย

ภาษาไทยธุรกิจ

การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)

                   เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  ลักษณะพิเศษของการสื่อสารแบบนี้คือ มีการเผชิญหน้ากันในระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร  ทำให้การสื่อสารสามารถพัฒนาต่อไปได้  เพราะสามารถแก้ไขได้ในทันทีทันใดหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น   เป็นการสื่อสารที่สมบูรณ์เนื่องจากครบวงจรมีปฏิกิริยาโต้ตอบเกิดขึ้นในการสื่อสาร  ทำให้ผู้ส่งสารรู้ว่าผู้รับสารเข้าใจในสารที่ส่งไปหรือไม่    ถือว่าเป็นการสื่อสารที่มีคุณภาพสมบูรณ์ที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในกระบวนการสื่อสารทั้งหมด การสื่อสารประเภทนี้แบ่งเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ ด้วยกันคือ

1.    การสื่อสารแบบพบปะสนทนาไม่เป็นทางการ (person to person)
ไม่มีรูปแบบบังคับเป็นการพูดคุยกันธรรมดาในเรื่องที่พูดไป เช่น การสนทนาพูดคุยที่ใช้
ในชีวิตประจำวัน

2.    การสื่อสารกลุ่มย่อย (small group communication)
เป็นการสื่อสารที่มีรูปแบบบังคับว่าจะต้องเป็นการพูดสนทนาระหว่างบุคคล 3 คนขึ้นไป
มาพูดคุยกันในรูปแบบของการปรึกษาหารือ เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน  การประชุมนี้อาจจะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้  แต่ต้องมีการกำหนดจุดประสงค์ เพื่อบรรลุจุดหมายร่วมกัน อาจมีการจัดตั้งหัวหน้ากลุ่มอย่างเป็นทางการหรือไม่ก็ได้  แต่ผลสรุปที่ออกมาจะเป็นสิ่งที่ทั้งกลุ่มจะยอมรับ  และปฏิบัติตาม  ลักษณะของการรวมกลุ่มและ  ปฏิกริยาที่เกิดขึ้นในกลุ่ม รวมทั้งบรรยากาศของการรวมกลุ่ม จะทำให้เราสามารถทราบได้ว่า การรวมกลุ่มในครั้งนี้ประสบความสำเร็จหรือไม่  รวมทั้งผลสรุปที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มนี้จะใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ เพราะหากบรรยากาศในการรวมกลุ่มมีลักษณะไม่น่าพังประสงค์  เช่น  ไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  สมาชิกไม่มีความรู้สึกที่จะมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มเช่นนี้ ผลสรุปนั้นอาจจะไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้  เพราะไม่ได้เกิดขึ้นจากการระดมความคิดของกลุ่มจริงๆ การสื่อสารประเภทนี้เหมาะสำหรับแก้ไขปัญหา  หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อการทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดร่วมกัน เป็นการสื่อสารที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน


3.    การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (Large Group Communication) หรือในบางครั้งก็เรียกว่า  การพูด
ในที่สาธารณะชน (Public Speaking)
                             เนื่องจากเป็นลักษณะของการสื่อสารที่มีลักษณะของการพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก  ลักษณะของการสื่อสารแบบนี้คือ  การอภิปราย (Dissuscion)  การบรรยาย (Lecture)  หรือการปาฐกถา เป็นต้น  ผู้ส่งสารจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบกระบวนการสื่อสาร  โดยจะเป็นผู้ควบคุมให้กระบวนการการสื่อสารดำเนินไปในทิศทางต่างๆ
                             สารที่ใช้ในการสื่อสารได้ถูกเตรียมพร้อมเป็นอย่างดีเพื่อการส่งออก  ซึ่งจะมีลักษณะเดียวกับการสื่อสารมวลชนที่สารได้มีการเตรียมพร้อมไว้ก่อน  แต่ความแตกต่างจะอยู่ตรงที่  ถ้าหากเป็นการสื่อสารกลุ่มใหญ่  จะมีโอกาสพัฒนากระบวนการสื่อสารให้สอดคล้องกับบรรยากาศ  และผู้รับสารได้  โดยไม่เปลี่ยนจุดประสงค์  ทำให้การสื่อสารมีความเหมาะสม และ สามารถประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น  ในขณะที่สื่อสารมวลชนไม่สามารถปรับเปลี่ยนการสื่อสารได้เลย  การสื่อสารประเภทนี้จะเน้นเรื่องของบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  และการมีอารมณ์ของกลุ่มผู้รับสารเป็นสำคัญ
                             ในการสื่อสารประเภทนี้ ผู้ส่งสารต้องมีความสามารถในการควบคุมทิศทางของกระบวนการสื่อสารให้เป็นไปตามที่ต้องการ  ซึ่งแตกต่างจากการสื่อสารกลุ่มย่อย เพราะจะมีลักษณะของการสื่อสารแบบทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งสาร หรือผู้รับสาร จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน บรรยากาศซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญของการสื่อสารแบบนี้  เพราะสามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความคล้อยตามได้ง่าย

สุนทรียภาพของชีวิต

คุณค่าของสุนทรียศาสตร์

          สุนทรียศาสตร์เป็นเรื่องของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความสวย ความงาม และความไพเราะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มนุษย์ทุกคนพึงปรารถนา เป็นคุณสมบัติที่ทุกคนต้องการ จริง ๆ แล้ว สุนทรียะยังหมายรวมถึงคุณสมบัติที่สามารถรับรู้ของหู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจพึงปรารถนา นอกจากความสวยและความงามที่ใช้ดูด้วยตาเป็นสื่อ ยังมีความไพเราะที่ต้องฟังด้วยหู กลิ่นหอมที่ต้องดมด้วยจมูก รสชาติที่ต้องชิมด้วยลิ้น การสัมผัสที่จะต้องใช้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องใช้จิตใจเป็นความรู้สึกในการรับรู้
            สุนทรียะจะต้องมีสื่อเพื่อที่จะช่วยให้คนได้รับรู้ ปราศจากสื่อก็คือการปราศจากการรับรู้ ไม่มีสื่อเสียแล้วมนุษย์ไม่สามารถที่จะชื่นชมงานศิลปะใด ๆ ได้ คนตาบอดไม่สามารถชื่นชมความสวยงามได้ฉันใด คนหูหนวกก็ไม่สามารถชื่นชมเสียงดนตรีที่ไพเราะฉันนั้น
            ดนตรีเป็นสุนทรียะที่เกี่ยวข้องกับเสียง ดนตรีเกี่ยวข้องกับความไพเราะ เมื่อพูดถึงดนตรีแล้วก็หมายถึงความไพเราะ แต่ยังมีรายละเอียดแยกย่อยลงไปอีกว่า เป็นความไพเราะของใคร เพราะว่าแต่ละคนรับรู้ความไพเราะที่แตกต่างกันคนละระดับกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน คนจึงฟังดนตรีกันหลากหลายต่างชนิดกัน ชื่นชอบเพลงไม่เหมือนกัน
            ความรู้สึกของคำว่า รักคุณเท่าฟ้าทุกคนรู้โดยรวม ๆ ว่าฟ้านั้นกว้าง แต่ความกว้างของฟ้าของแต่ละคนไม่เท่ากันและไม่เหมือนกัน ฟ้าเป็นโลกทัศน์ของแต่ละคน ฟ้าเป็นความรู้สึกที่มั่นคงยิ่งใหญ่และฟ้าเป็นความรู้สึกที่อบอุ่นละเอียดอ่อน
            ทุกคนรู้สึกว่า เหงา  อธิบายไม่ได้แต่รู้สึกได้ คำว่า เหงาของบางคนมีความหมายเล็กเกินไปกว่าความเหงาจริง เพราะรู้สึกว่าเราเหงามากกว่านั้น เหงาเหงาเหงาจะเขียนอีกสักกี่ตัว คำหรือภาษา ก็ยังเล็กไปสำหรับความรู้สึกที่มีความเหงาจริง
            ความรู้สึกปีติ ความอิ่มเอิบ ความภูมิใจ เมื่อได้พบกับความสวยงาม ความงาม ความไพเราะ ได้พบกับบรรยากาศ รสนิยม และคุณค่าที่ดี ความรู้สึกปีติเป็นพลังกายในที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับจิตใจ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นคนไปดูหนังผี เป็นสุนทรียะที่เกิดขึ้นจากความกลัว ที่จริงแล้วคนดูหนังได้เตรียมตัวกลัวผีไปจากบ้านแล้ว ถ้าหนังผีสามารถสร้างความกลัวให้กับผู้ชมได้ถึงใจ คือ สร้างให้ผู้ชมเกิดความกลัวได้ ภาพยนตร์เรื่องนั้นก็เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม แต่ถ้าหากว่าภาพยนตร์ไม่สามารถทำให้ผู้ชมกลัวได้ คือไม่น่ากลัว หนังผีเรื่องนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากดู เพราะหัวใจของหนังผีก็คือการสร้างความกลัวให้เกิดขึ้นกับผู้ชม

ดนตรีในความหมายของสุนทรียศาสตร์

          ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์ของดนตรีเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับเสียงลักษณะและคุณภาพของเสียง หนา-บาง สูง-ต่ำ ดัง-เบา สั้น-ยาว เล็ก-ใหญ่ ฯลฯ แหล่งกำเนิดเสียง คุณสมบัติของเสียง ศาสตร์เป็นความรู้ที่สามารถสืบทอดการเรียนรู้โดยการอ่านบอกเล่า ถ่ายทอดสู่กันฟัง การสืบค้นคว้าจากหลักฐานต่าง ๆ ความรู้สามารถคิดหาเหตุผลมาประติดประต่อได้ ความรู้สามารถเรียนรู้ได้โดยการจดจำ ท่องบ่น ทบทวน และที่สำคัญก็คือความรู้สามารถเรียนทันกันหมด ความรู้ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
            การ ทรงจำดนตรี เอาไว้โดยการท่องบ่นแบบนกแก้วนกขุนทอง เป็นแต่เพียงคุณค่าของศาสตร์เท่านั้น การท่องบ่นเป็นการทำซ้ำ ไม่สามารถที่จะสร้างสรรค์ได้ ขาดความมีชีวิตชีวา รวมทั้งความรู้รอบ ๆ ดนตรี ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง กิตติศัพท์ เกียรติคุณ เป็นแต่เพียงแต่องค์ประกอบนอกเหนือดนตรีทั้งสิ้น
            สุนทรียะเป็นเรื่องของศิลป์ ดนตรีเป็นศิลปะของการเรียบเรียงเสียง นำเอาเสียงที่มีความสูง-ต่ำ สั้น-ยาว หนา-บาง ดัง-เบา มาต่อกันโดยอาศัยความรู้ การนำเสียงมาต่อกันให้มีศิลปะ จึงจะเกิดเป็นความไพเราะขึ้น ถ้านำเสียงเอามาต่อกันแล้วไม่มีศิลปะก็ไม่เป็นดนตรี กลายเป็นเสียงอื่น ๆ ไป
            ความไพเราะของเสียงดนตรีเป็นสุนทรียะ สืบทอดโดยการเล่าสู่กันฟังอย่างความรู้ไม่ได้ อ่านความไพเราะไม่ได้ ท่องจำความไพเราะไม่ได้ อธิบายไม่ได้ ความไพเราะของดนตรีจะต้องสัมผัสด้วยตนเอง โดยอาศัยประสบการณ์ตรงเท่านั้น
            การสัมผัสความไพเราะเป็นเรื่องเฉพาะตัว เฉพาะคนไม่เกี่ยวกับวัย ไม่เกี่ยวกับวุฒิ ไม่เกี่ยวกับปัญญา ไม่เกี่ยวกับปรัชญา แต่ความไพเราะอยู่นอกเหนือปรัชญาและปัญญา


ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต 
          นักชีววิทยาคาดการณ์ว่าโลกเรานี้มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมายหลายล้านชนิด  แต่ที่ได้ศึกษากันตามหลักวิทยาศาสตร์มีอยู่เพียงประมาณ 2 ล้านชนิดเท่านั้น  และในจำนวนสิ่งมีชีวิตที่รู้จักกันแล้วนี้มีอยู่เพียงน้อยนิดเท่านั้น (ไม่ถึง  0.01%)  ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา และตรวจสอบถึงศักยภาพและคุณค่าที่อาจเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมต่าง ๆ  ของมนุษย์  ทั้งโดยทางตรงทางอ้อม  ข้อเท็จจริงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เอาใจใส่ และด้วยในความรู้ของเราเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมโลกกับเรา เราอาจกล่าวอย่างมั่นใจได้ว่ายังมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่รอคอยการศึกษาจากนักวิชาการ  โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในบริเวณป่าชื้นเขตร้อน (tropical rain forest)    ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางประมาณ  7% ของผืนแผ่นดินที่อยู่อาศัยทั่วโลก  ป่าชื้นเขตร้อนเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ และ เอื้ออำนวยให้มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากมาย เสมือนเป็นศูนย์กลางแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สมควรได้รับความสนใจดูแลรักษาสภาพไว้ให้เป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศและของโลกด้วย  นักวิชาการคาดหมายว่ามีสิ่งมีชีวิตจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านชนิดในป่าชื้นเขตร้อนในจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่คาดว่ามีประมาณ 5 ล้านชนิดหรือมากกว่านั้น แต่จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันบ่งบอกว่ามีสิ่งมีชีวิตเพียงประมาณ 5 แสนชนิดเท่านั้นที่ได้รับการศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์ และคาดว่าในป่าชื้นเขตร้อนยังมีสิ่งมีชีวิตอีกจำนวนมากมายที่มีความหลากหลายอย่างน่าอัศจรรย์  คงมีสิ่งมีชีวิตจำนวนไม่น้อยในป่าชื้นเขตร้อนที่ถูกทำลายสูญหาไปจากโลกนี้อย่างไม่มีวันที่จะหวนกลับคืนมาได้อีกโดยน้ำมือของมนุษย์จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม  ทั้ง ๆ ที่สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วนั้นอาจมีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอย่างมหาศาล หากว่าเราได้รู้จักมันและศึกษาหาความรู้จากมันเสียก่อน
            เราต้องยอมรับความจริงว่าการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยกลไกตามธรรมชาติ  เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นไม่เร็วก็ช้า  มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตชนิดที่ปรากฎอยู่ในโลกปัจจุบันเป็นเพียงส่วนน้อยนิดประมาณ 1% ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ จำนวนมากมายหลายร้อยล้านชนิดที่เคยอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ในอดีตกาล  โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลา 600 ล้านปีที่ผ่านมา  มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีสิ่งมีชีวิตมากมายและหลากหลายที่สุด  จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคทองของความหลากหลายทางชีวภาพทีเดียว เราอาจประมาณการณ์ได้ว่าอัตราสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในช่วงเวลาดังกล่าวในอดีตกาล  เกิดขึ้นตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ  โดยเฉลี่ยประมาณปีละ 1 สปีชีส์ แต่ในปัจจุบันพบว่า  การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมยุคใหม่ เกิดขึ้นในอัตราที่รวดเร็วเป็นหลายร้อยหลายพันเท่าของอัตราสูญพันธุ์ในอดีตกาล  จะสังเกตว่า การสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วเกิดขึ้นในพวกที่อาศัยอยู่ในป่าชื้นเขตร้อน  โดยเฉพาะในประเทศที่ด้วยพัฒนา และที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยเราด้วย การสูญเสียทรัพยากรสิ่งมีชีวิตอย่างากมายในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่สิบปีมานี้ ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์อย่างน่าอนาถใจยิ่ง  นักวิชาการประเมินอัตราสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตประมาณวันละ 1 ชนิด ในช่วงปี ค.. 1970 และเพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงละ 1 ชนิดในช่วงปี ค.. 1980 หากอัตราสูญพันธุ์เป็นไปในลักษณะเช่นนั้ก็เป็นที่เชื่อกันว่าภายใจสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้ จะมีการสูญพันธุ์ไม่น้อยกว่า  20-50%  ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกกลมใบนี้  และในจำนวนที่สูญพันธุ์ไปนี้จะเป็นการสูญเสียจากป่าชื้นเขตร้อนมากที่สุด เพราะมีหลักฐานแสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีการทำลายป่าไม้ในเขตร้นอย่างมากมายในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา
            ในระบบนิเวศที่สมดุล  การสูญเสียสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง อาจมีผลกระทบถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่  มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี นักชีววิทยาได้ประมาณการณ์ว่า การสูญพันธุ์ของพืชชนิดหนึ่งสามารถส่งผลกระทบให้มีการสูญเสียแมลงและสัตว์อื่นในระบบนิเวศเดียวกันได้มากมากหลายชนิด อาจมากถึง 30 ชนิดก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบอาจไม่ปรากฎชัดเจนในทันท่วงทีในระบบนิเวศที่ซับซ้อน

           

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

     1.เทคโนโลยีสารสนเทศ  เทคโนโลยีสารสนเทศ (Infornation Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด  สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หากมีการจัดเก็บรวบรวม เรียกค้น และสื่อสารระหว่างกัน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ สารสนเทศมีความหมายที่กว้างไกล ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนเพิ่มเติมต่อไป
           พ.ศ. 2523 ความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการส่งถ่ายข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและเริ่มเมื่อไม่นานมานี้เอง เมื่อราว พ.ศ. 2500 เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสารและเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นงานภายในสำนักงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยงานเท่าใดนัก
 เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงานสารสนเทศมากขึ้น เช่น เครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องโทรสาร และเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวที่ค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยการพัฒนาค้นคว้าวิจัยให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้มนุษย์ยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น เทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งทำให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีทางด้านอวกาศ ทางด้านการผลิต ทางด้านอุตสาหกรรม และทางด้านพาณิชยกรรมเป็นต้น
   2.คอมพิวเตอร์  วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาต่อๆ กันมาอย่างรวดเร็วทำให้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาจกล่าวได้อีกว่าโลกของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมี การเคลื่อนไหวเสมอ(dynamics) พัฒนาการดังกล่าวกลับไม่ค่อยยืดหยุ่น เพราะหากเกิดความผิดพลาด ในกลไกเพียงเล็กน้อย บางครั้งก็อาจเป็นบ่อเกิดปัญหาที่ใหญ่โตมหาศาลได้ นอกจากนี้การพัฒนาคอมพิวเตอร์ยังนับได้ว่าเป็นโลกที่ควบคุมไม่ได้ หรือสามารถจัดการได้น้อย กล่าวคือ ทันทีที่คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยโปรแกรม เครื่องก็ปฏิบัติงานไปตามโปรแกรมด้วยตนเอง และขณะที่เครื่องทำงานอยู่นั้นมนุษย์จะไม่สามารถควบคุมได้     

            คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2497-2501) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยังมีขนาดใหญ่มาก ใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก        
           คอมพิวเตอร์ยุคที่2 (พ.ศ. 2502-2507) คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ  คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ต้นทุนต่ำกว่า ใช้กระแสไฟฟ้าน้อย
           คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508-2513)    คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจรไอซี (Integrated Circuit)  เป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะไว้แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิกอน (Silicon) เรียกว่า "ชิป"
           คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514-2523)    คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร LSI (Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิกอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์นคือ CPU ลงชิปตัวเดียว เรียกว่า "ไมโครโปรเชสเซอร์" 
           คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน)  คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร VLSI (Very Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

     3.อินเตอร์เน็ต  อินเตอร์เน็ต"(Internet)มีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ถือกำเนิดก่อตั้งมา  เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960 หรือ พ.ศ.2503นั้นเอง ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ทางการทหารในสมัยนั้น แต่ ARPAnet ก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็น อินเตอร์เน็ต (Internet)  ค.ศ.196 (พ.ศ.2512) ARPAnet ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) และก็มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่างขึ้นมา  ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ได้มีทดลองการเชื่อมต่อ Computerจาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์  เข้าหากันเป็นครั้งแรก และการเชื่อมต่อ computer นี้ก็ประสบผลำเร็จ  ค.ศ.1975(พ.ศ.2518) เครือข่ายทดลอง ได้ถูกนำมาเป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริงๆจังๆ โดยมี หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency – ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) รับหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง  แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) Protocal TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) ได้ถูกนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet และปัจจุบันนี้ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้องการกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database)อินเตอร์เน็ตคือข้อมูลที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว